การป้องกันและกำจัดปลวก กำจัดแมลง บริษัทกำจัดปลวก กำจัดปลวก ราคา บริษัทกำจัดปลวก กำจัดแมลงสาบ รับกำจัดปลวก รับฉีดปลวก ฉีดปลวกราคา
ReadyPlanet.com
dot
dot


กระทรวงสาธารณสุข
ระบบวางเหยื่อปลวก
เวปไซด์ซื้อ ขายบ้านและที่ดิน


บริการป้องกัน และ กำจัดปลวก article

 

        การป้องกันและกำจัดปลวก บริษัทกำจัดปลวก ส่วนมากมีวิธีการอยู่หลายวิธีซึ่งไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน แต่วิธีที่ใช้กันได้ผลดีที่สุดระบบเหยื่อล่อปลวก เนื่องจากได้ผลดีกว่าการใช้สารเคมี ปลวกตายยกรัง และไม่มีสารเคมีตกค้าง ภายในบ้าน แต่ราคาค่อนข้างสูงกว่าการใช้สารเคมี และการใช้สารเคมีป้องกันปลวกนั้น สารเคมีที่เลือกใช้ต้องได้รับการจดทะเบียนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข เพราะได้ผ่านการตรวจสอบว่ามีความปลอดภัยต่อคน สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม สำหรับการป้องกัน และ กำจัดปลวกสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

 

      การป้องกันและกำจัดปลวก หลักๆที่นิยมใช้ป้องกันและกำจัดปลวก จะเป็น ระบบงาน อัดเคมีลงดิน และงานระบบเหยื่อ กำจัดปลวก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 

 

 

1.) ระบบการเจาะพื้นอัดเคมีลงดิน (Post Treatment System)

      เป็นระบบการเจาะพื้นอัดน้ำยาลงดินใต้พื้นบ้านหรืออาคาร เป็นอีกระบบที่บริษัทกำจัดปลวกนิยมใช้ สำหรับบ้านบ้านหรืออาคารที่ปลูกสร้างแล้วเสร็จ ที่ไม่มีระบบท่อการป้องกันปลวก การเจาะพื้นต้องเจาะภายในบ้านและรอบ ๆ บริเวณบ้านโดยเฉพาะจุดที่มีความเสี่ยงต่อการเข้าทำลายของ ปลวก เช่น ใต้บันได ห้องเก็บของ บริเวณบิ้วท์อิน วงกบประตู หน้าต่าง เป็นต้น รวมทั้งการ อัดน้ำยาเคมีหรือสเปรย์เคมี ในส่วนปล่องท่อน้ำทิ้ง ปล่องท่อชาร์ป เสาหลอก บริเวณฝ้า การปฏิบัติงานดูแลภายในบ้านชั้นล่าง บน รอบตัวบ้าน สนามหญ้า บริเวณกำแพงบ้าน บริเวณ หน้าบ้าน ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมทั้งตัวบ้านและนอกบ้าน เพื่อ ป้องกัน ปลวก เข้าสู่ตัวบ้านและอาคารได้

 

รายละเอียดการเจาะพื้นอัดเคมีลงดิน กำจัดปลวก

  • ส่วนที่ติดกับพื้นดิน ที่เป็นต้นตอและเส้นทางที่ปลวกสามารถเข้ามาทำลายทรัพย์สิน

o   พื้นบ้าน ทำการเจาะพื้นที่ป้องกันปลวกจากใต้ดิน โดยส่วนมากเจาะห่างจากมุมเสาของตัวบ้าน หรือจุดที่ประกอบด้วยไม้ หรือจุดเสี่ยงที่ประกอบด้วยไม้  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงให้น้ำยาเคมีลงถึงพื้นดินและครอบคลุมถึงพื้นที่ตัวบ้าน

o   ส่วนที่ประกอบด้วยไม้ ทำการฉีดพ่นเคมีกำจัดปลวก เช่น วงกบประตู หน้าต่าง ขอบบัวพื้น จุดที่ประกอบด้วยบิ้วอินท์ เพื่อป้องกันและกำจัดปลวก

o   ส่วนที่มีความชื้นสูง ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องซักล้าง ซึ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากปลวก ชอบที่อับชื้น มืด เงียบและ ไม่ถูกรวกวน ต้องทำการฉีดพ่น สเปรย์ป้องกันปลวก หรือ สามารถเจาะพื้นอัดเคมีลงดินได้ในบริเวณนี้ จะลดความเสี่ยงที่ปลวกเข้ามาทำลายได้

o   ส่วนที่เป็นช่องว่าง เช่น ระบบท่อชาร์ป ท่อน้ำทิ้ง เสาหลอก เป็นเสาที่ด้านในกลวงลักษณะจะโต กว่าเสาอื่น ๆในบ้าน มักอยู่บริเวณโรงจอดรถ หรือหน้าบ้าน ซึ่งเสี่ยงที่ปลวก สามารถใช้เป็นเส้นทางขึ้นสู่จุดอื่น ๆได้

o   พื้นที่รอบตัวบ้าน ทำการอัดเคมีลงดินระยะห่างประมาณ 1 เมตรต่อจุด และทำการสเปรย์น้ำยาเคมีอีกครั้ง หากพื้นปูนหรือซิเมนต์ ทำการสเปรย์น้ำยาเคมีบริเวณรอยแตก รอยแยก หรือจุดแตกร้าว

o   บริเวณต้นไม้ ทำการฉีดพ่นโดยรอบโคนต้นไม้ หากพบปลวกทำลายไม้แห้งหรือต้นไม้เหี่ยวให้ทำการขุดโดยรอบต้นไม้ระยะห่างประมาณ 1 เมตร ขุกลึกประมาณ 50 ซม. ทำการราดน้ำยาเคมี หรืออัดเคมีลงดินโดยใช้ ก้านอัดเคมีลงดินโดนรอบโคนต้นได้ เพื่อกำจัดปลวก

o   กำแพง รั้วบ้าน ทำการฉีดพ่นเคมี ป้องกันปลวก

 

  • ส่วนที่เหนือพื้นดิน ปลวกสามารถเข้ามาทำลายทรัพย์สินได้เช่นเดียวกัน

o   แนวบันได ทำการฉีดพ่นน้ำยาเคมีกำจัดปลวก หากบันไดทำจากไม้หรือวัสดุจากเนื้อไม้ เนื่องจากปลวกสามารถขึ้นสู่ในชั้นต่อไปได้

o   ฝ้า เนื่องจากฝ้าบุได้เยื่อไม้ซึ่งเป็นอาหารปลวกได้เป็นอย่างดี ต้องทำการสเปรยฺน้ำยาเคมี เน้นจุดที่ติดกับแนวท่อชาร์ป

o   ระบบท่อน้ำทิ้ง ท่อชาร์ป ทำการสเปรย์น้ำยาเคมี เนื่องจากปลวกเนื่องจากปลวก สามารถใช้เป็นเส้นทางสู่ชั้นอื่น ๆของบ้านได้

o   ห้อง ต่าง ๆ ขั้นอยู่กับความเหมาะสมในการฉีดพ่น หรือ ความเสี่ยง ที่ปลวกสามารถเข้ามาทำลาย หากสามารถฉีดพ่นเพื่อการป้องกันปลวก

 

        การเตรียมพื้นที่ เพื่องานอัดน้ำยาเคมีลงดินภายในบ้าน

  • จัดเก็บอาหารหรือเครื่องครัว อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารให้มิดชิด
  • จัดเก็บเอกสาร หนังสือเครื่องมือ เครื่องใช้อื่น ๆ ที่ไม่สามารถทนต่อสารเคมีได้
  • จัดเก็บเสื้อผ้า หรืออื่น ๆ ซึ่งอาจปนเปื้อนน้ำยาเคมีได้
  • หากมีบ่อปลาหรืออ่างปลา ควรหาพลาสติก คลุมหรือ ระมัดระวังในการฉีดพ่น

       

       ข้อแนะนำ 

  • การนำดินเข้ามาถมหรือเพิ่มเติมหน้าดินในบริเวณบ้านจะต้องปรับระดับและสเปรย์น้ำยาเคมีป้องกันปลวกก่อนทุกครั้ง
  • ระบบน้ำทิ้งหรือปล่องท่อชาร์ป หรือเสาหลอก ภายในบ้านหรืออาคารควรจะปิดด้วยซีเมนต์ให้มิดชิด บริเวณพื้นผิวดินเพื่อป้องกันเข้ามาสู่ตัวบ้านหรืออาคาร
  • ภายในบ้านระบบฝ้าชั้นล่าง หรือชั้นบน ควรจะมีช่องเปิดได้เพื่อป้องกันการมีปัญหาระบบน้ำรั่วหรือมี ปลวก ขึ้นสามารถเปิดดูได้
  • ผนังบ้าน(อิฐบล็อก)หรือส่วนประกอบอื่น ๆ จะต้องมีช่องว่างให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลยได้ยิ่งดี เนื่องจาก ปลวก สามารถเข้ามาสู่บ้านหรืออาคารไม้จากช่องว่างดังกล่าว
  • การตกแต่งบ้านเพิ่มเติมหรือบิ้วท์อิน ไม้ที่นำมาควรทาหรือชุบน้ำยา ปลวก ป้องกันปลวก ก่อนเข้ามาติดตั้งภายในบ้าน
  • การซื้อต้นไม้หรือกระถางต้นไม้เข้ามาตกแต่งหน้าบ้านเพิ่มเติมจะต้องตรวจดูให้ละเอียดเพื่อป้องกัน ปลวก ติดเข้ามากับต้นไม้หรือกระถางต้นไม้


 

 

2.) ระบบ Baiting system   หรือ ระบบการตรวจจับและเหยื่อล่อปลวก   

                   


       

       

      ระบบตรวจจับและเหยื่อล่อปลวก ซึ่งมีหลากหลายแบรน ที่นำมาใช้ เพื่อป้องกันและกำจัดปลวก ซึ่งหลักการไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่ องค์ประกอบหลักๆ จะมี 3 ส่วนดังนี้     

    1. สถานีกับดักในดิน

    2.สถานีกับดักในพื้นคอนกรีต

    3. สถานีกำจัดปลวกภายในอาคาร

       งานการติดตั้ง ระบบเหยื่อถ้าให้ได้ผลดี ต้องติดตั้งสถานีรอบบ้าน ให้ได้ตาม ข้อกำหนดระบบเหยื่อ หรือให้ครอบคลุมตัวบ้านทั้งหลัง (สถานีฝังดินและสถานีในคอนกรีต) โดยรอบตัวบ้าน ทำให้มั่นใจ ว่าปลวกไม่สามารถเล็ดลอดเข้ามาจากใต้ดินหรือ รอบตัวบ้านเข้ามาทำลายทรัพย์สินในบ้านได้ ส่วนภายในบ้านหรืออาคาร หากพบตัวปลวก ก็สามารถติดตั้งสถานีกำจัดปลวก ภายในบ้านหรืออาคารได้เป็นจุดๆ โดยเน้นจุดที่พบตัวปลวก เพื่อกำจัดปลวกที่พบอยู่ให้ตายยกรัง 

 

  • สถานีกับดักปลวกในดิน จะกอบด้วย 2 ส่วน  ซึ่ง การติดตั้ง ส่วนมากดูตามความเหมาะสมโดยเน้น ห่างจากตัวบ้าน ประมาณ 1 - 1.5 เมตร หรือแนวชายคาบ้าน และระยะห่างระหว่างสถานีไม่ควรเกิน 4 เมตร
  1. ตัวสถานี เป็นพลาสติกสีดำ รูปทรงกระบอก มีรู หนือช่องด้านข้าง ให้ปลวกสามารถเข้าไปหาเหยื่อล่อหรือแผ่นไม้ได้
  2. ไม้ล่อ ปลวก ซึ่งมี 2 ชิ้น สำหรับล่อปลวก เข้ามากินในสถานี ในการบริการระบบเหยื่อล่อปลวก ต้องหมั่นตรวจสอบให้ไม้ล่อปลวก สามารถให้ล่อปลวกได้อยู่ตลอดเวลา

 

  • สถานีกับดักปลวกในพื้นคอนกรีต ประกอบด้วย 3 ส่วน ซึ่งการติดตั้ง จะเหมือนกับ สถานีล่อปลวกในดิน แต่ จะติดตั้งในพื้นคอนกรีต ที่สำคัญต้องมี การเจาะพื้นด้วยเครื่องเจาะ ให้มีขนาดพอดีหรือเล็กกว่าฝาปิดสถานีเล็กน้อย
  1. ตัวฝาปิด ซึ่งสแตนเลส ปิดสถานีในพื้นคอนกรีต เป็นลักษณะทรงกลม แข็งแรงสวยงาม
  2. แผ่นกระแกรงพลาสติก ซึ่งใว้ใส่ลงไปในสถานี ม้วนเป็นทรงกลมตาม ขนาดรูที่เจาะ เพื่อใช้ประคองไม้ล่อปลวก ที่ใส่ลงไปในสถานี
  3. ไม้ล่อ ปลวก ซึ่งมี 2 ชิ้น สำหรับล่อปลวก เข้ามากินในสถานี ในการบริการระบบเหยื่อล่อปลวก ต้องหมั่นตรวจสอบให้ไม้ล่อปลวก สามารถให้ล่อปลวกได้อยู่ตลอดเวลา

 

  • สถานีกับดักปลวกในอาคาร
  1. กล่องสถานีเหยื่อ  มีลักษระเป็นกล่องสี่เหลี่ยมสำหรับใส่เหยื่อกำจัดปลวก การติดตั้งสถานี ต้องติดตั้ง ณ.จุดที่พบจุดหรือเส้นทางเดินของปลวกผ่าน
  2. หยื่อกำจัดปลวก   มีลักษณะเป็นผผงสีขาว การใช้งานต้องผสมกับน้ำที่สะอาด พอจับตัวเป็นก้อนมาดๆ นำไปใส่ในกล่องให้พอดี แล้วปิดฝากล่อง ติดตั้งให้แน่นหนา และมิดชิด เพื่อให้ปลวกเข้ามากินเหยื่อในสถานี

       จุดเด่นของระบบเหยื่อกำจัดปลวกเนเมซิส
  • เป็นวิธีการกำจัดปลวกด้วยเหยื่อกำจัดปลวก หรือ Interception and Baiting System ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เคมีฉีดพ่นทั่วไป
  • สถานีเหยื่อล่อปลวกมีขนาดใหญ่  สามารถในการตรวจจับและกำจัดปลวกได้ดีกว่าระบบเหยื่อล่ออื่น ๆ
  • มีไม้เหยื่อล่อปลวก ถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงที่เลียนแบบไม้ที่มีร่องรอยการทำลายของปลวกสามารถดึงดูดปลวก เข้าสู่กับดัก ทำให้สามารถกำจัดปลวกได้ดี 
  • ไม่มีการรบกวนปลวกที่มาสู่กับดักทำให้สามารถกำจัดปลวกได้ดี  และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปลวกไม่รู้ตัว
  • ผลิตภัณฑ์ระบบเหยื่อล่อนี้ได้รับการรับรอง ว่าเป็นวิธีกำจัดปลวกแบบตายทั้งรัง (Termite Colony Elimination) ตามมาตราฐานของ  ประเทศออสเตรเลีย หมายเลขที่ AS3660.2-2000  

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. เป็นการสร้างเขตป้องกันปลวกรอบ  ๆ ตัวบ้านคุณปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากไม่มีสารเคมีตกค้างภายในบ้านและพื้นดิน เป็นระบบ กำจัดปลวก ปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน   
  2. ไม่มีการฉีดสารเคมีใด ๆ ในการตรวจเช็คระหว่างปี
  3. เป็นการป้องกันปลวก ในระยะยาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เป็นการกำจัดปลวกได้ผลกว่าสารเคมีและปลวกตายยกรัง

 

 

 

(สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ สามารถศึกษาได้จากหัวข้อระบบเหยื่อล่อ)

 

สามารถใช้ระบบการป้องกัน และ กำจัดปลวก ดังนี้

1.) Pipe Treatment System  เป็นระบบ การวางท่อ  (Chemical pipe)  การป้องกันปลวก ใต้อาคารตามบริเวณห้องต่าง ๆ   ตามแนวคานคอดิน และ อัดน้ำยาเคมีผ่านท่อ  โดยใช้เครื่องมืออัดแรงดันสูง  และ ฉีดน้ำยาเคลือบผิวดิน ใต้อาคาร เพื่อทำให้ผิวดินส่วน นั้นเป็นพิษเกินกว่า ปลวก จะอาศัยอยู่ หรือแทรกตัวผ่านเข้ามาทำลายตัวอาคารได้ โดยเริ่มปฏิบัติงานหลังจากขึ้นคานคอดินเรียบร้อยแล้ว และควรจะปรับหน้าดินก่อน การอัดและสเปรย์เคมีลงดินต้องครอบคลุม พื้นที่ทุกจุดของบ้าน/อาคาร รวมทั้งพื้นที่รอบ ๆ ตัวบ้านด้วย เพื่อ ป้องกันปลวก เข้ามาสู่บ้าน/อาคารจากส่วนใดส่วนหนึ่งของตัว บ้าน หรือ อาคาร
     
1.) Soil Treatment System เป็นระบบ ป้องกันปลวก โดยการ อัดน้ำยาเคมีเคมี ป้องกัน ปลวก ลงดินก่อนเทพื้นคอนกรีตชั้นล่างระหว่างก่อสร้างหลังจากการ ถมดินทราย ชั้นสุดท้ายจนแน่นเตรียมพร้อมสำหรับเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กก่อนที่จะเทคอนกรีตหล่อพื้นอาคารหรือก่อนปูแผ่นพื้นอาคาร การอัดและสเปรย์เคมี ลงดินต้องครอบคลุมพื้นที่ทุกจุดของตัวบ้าน หรือ อาคาร รวมทั้งพื้นที่รอบ ๆ ตัว บ้านหรืออาคาร ด้วย เพื่อป้องกันเข้ามาสู่บ้านหรืออาคาร จากส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวบ้านหรืออาคารได้
    
การเตรียมพื้นที่ก่อสร้างสำหรับป้องกันปลวก

  • จัดเก็บหรือทำลายเศษไม้แบบก่อสร้าง ตอไม้หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เป็นอาหารของ ปลวก หรือ ปลวก สามารถทำทางเดินขึ้นสู่ตัวบ้านหรืออาคารได้
  • พื้นที่ไม่ควรจะมีน้ำขัง ซึ่งจะมีผลกับระดับความเข้มข้นหรือความเป็นพิษของสารเคมีทำให้ความมีพิษต่ำลง
  • การอัดหรือสเปรย์เคมีไม่ควรปฏิบัติในขณะที่มีฝนตกซึ่งจะมีผลกับระดับความเข้นข้นหรือความเป็นพิษของสารเคมี เช่นเดียวกัน


 




บริการป้องกันและกำจัด

บริการป้องกัน และ กำจัดมด article
บริการป้องกัน และ กำจัดแมลงสาบ article
บริการป้องกัน และ กำจัดหนู article
บริการป้องกัน และ กำจัดยุง article
บริการป้องกันและกำจัดแมลงอื่น ๆ article
พ่นฆ่าเชื้อ article
การป้องกันและกำจัดแมลงโรงแรม อาคารชุด คอนโด สำนักงานให้เช่า
การป้องกันและกำจัดแมลงในร้านอาหาร
บริการป้องกันและกำจัดปลวก แมลง สำหรับ อาคารบ้านเรือนที่พักอาศัย
บริการป้องกันและกำจัดปลวก แมลงและสัตว์พาหะในโรงงานอาหาร