- สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด
เพื่อดูสภาพปัญหาก่อนทำบริการ อันได้แก่ ร่องรอย หลักฐาน (EVIDENCE OR SIGN) ที่เกิดจากหนู เช่น รูหนุ รังหนู ทางวิ่ง มูลหนู รอยกัดแทะ ทำลายหรือคลาบไคล (SMERAR MARK) เป็นต้น
- วางเหยื่อกำจัดหนู
ชนิดออกฤทธิ์ช้า หรือเร็ว ตามความเหมาะสมทั้งชนิดก้อนขี้ผึ้งและคลุกเม็ด (WAX BLOCK / GRAIN MIXED)
- วางกาว (GLUE BOARD / STICKY BOARD)
ตามพื้นที่เหมาะสมและบริเวณที่วางเหยื่อพิษไม่ได้
- วางกับดัก (TRAPPING)
จะพิจารณาเลือกใช้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยใช้กับดักหนูเป็น หรือดักตาย (LIVE TRAP / SNAP TRAP)
- ตรวจเช็ค / ติดตามผล และทำบริการอย่างต่อเนื่อง
ในการป้องกันการกำจัดหนูเบื้องต้น เช่น การป้องกันการเข้ามาในพื้นที่ (EXCLUSION)
การลดแหล่งอาศัย : แหล่งหลบซ่อน โดยการจัดเก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ
ลดแหล่งอาหาร : ได้แก่ การจัดเก็บและการทิ้งขยะอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
การดำเนินการทุกขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วถึงแม้นประสบผลสำเร็จด้วยดี แต่หากการควบคุมดูแลรักษาสภาพอย่างต่อเนื่อง การควบคุมหนู อย่างถาวรจะเป็นไปไม่ได้ เพราะหนูจากที่อื่นจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ ทำให้การควบคุมหนูต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ทำให้เสียเวลา ทรัพยากร การควบคุมดูแลสภาพที่สำคัญ ได้แก่การตรวจสอบดูแลรักษาความสะอาด การจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ การดูแลเติมเหยื่อพิษ ในที่ใส่เหยื่อ ไม่ให้ขาดหรือการเพิ่มจุดใส่เหยื่อเพิ่มเติม กรณีที่ใส่เหยื่อจุดเดิมสูญหาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง ทำให้มีหนูเคลื่อนย้ายเข้ามาเพิ่มเติม ในจุดที่ไม่อยู่ในแผน
ถ้าหากมีหนูตาย ลูกค้าสามารถโทรแจ้งบริษัท ฯ เพื่อบริษัท ฯ จะได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเก็บหนูตาย และใช้น้ำยาดับกลิ่น เช่น สเปรย์น้ำหอมหรือก้อนโฟมชุบน้ำหอมเพื่อดับกลิ่น
|